head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: ระยะเวลาการย่อย ของ อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง ที่ให้ทางสายยาง !  (อ่าน 68 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 187
    • ดูรายละเอียด
ระยะเวลาการย่อย ของ อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง ที่ให้ทางสายยาง !

อาหารปั่นผสม มีลักษณะเป็นของเหลว ซึ่งใช้ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ รวมไปถึงผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว โดยวิธีการให้คือ ใช้สายยางให้อาหาร ใส่เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย บางกรณีอาจจะใส่สายยางไปทางจมูก หรือ การเจาะบริเวณหน้าท้อง ซึ่งการเจาะบริเวณหน้าท้องเป็นการให้อาหารโดยส่งตรงไปถึงกระเพาะอาหารโดยตรง ซึ่งมีข้อดีคือสะดวกกว่า แต่มีข้อเสียเช่นกัน คืออาจจะทำให้ผู้ป่วยมีแผลจากการใส่สายยางให้อาหาร เพราะจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อที่จะได้นำสายยางให้อาหารเข้าไปในร่างกายโดยตรง

ซึ่งการให้อาหารปั่นผสม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อาหารปั่นผสม จะมีรูปแบบเป็นของเหลว ซึ่งจะทำให้ย่อยง่ายกว่าอาหารธรรมดา เนื่องจากมีความเหลวรวมไปถึงเป็นการให้อาหารทางสายยาง โดยส่งตรงไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง ซึ่งทำให้การย่อยอาหารนั้ ย่อยง่ายและเร็วกว่าอาหารที่เรารับประทานกัน อย่างไรก็ตาม การให้อาหารผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ผู้ดูแลควรแบ่งอาหารที่ให้ในแต่ละมื้อเพิ่มมากขึ้น อาจจะจาก สามมื้อต่อวัน เพิ่มเป็นสี่มื้อต่อวัน เพื่อที่จะได้เหมาะสมกับความต้องการและระบบย่อยอาหารของผู้ป่วยด้วย


การย่อยอาหาร เป็นการสลายโมเลกุลอาหารที่ไม่ละลายน้ำขนาดใหญ่เป็นโมเลกุลอาหารละลายน้ำขนาดเล็กเพื่อให้สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่เลือดได้ ในสิ่งมีชีวิตบางชนิด สสารขนาดเล็กกว่าเหล่านี้ถูกดูดซึมผ่านลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด การย่อยอาหารเป็นแคแทบอลิซึมรูปแบบหนึ่งซึ่งแบ่งวิธีการสลายอาหารออกได้เป็นสองวิธี คือ การย่อยอาหารเชิงกลและการย่อยอาหารเชิงเคมี คำว่า การย่อยอาหารเชิงกลหมายถึง การสลายเชิงกายภาพของชิ้นอาหารขนาดใหญ่เป็นชิ้นเล็ก ๆ


ซึ่งทำให้เอ็นไซม์ย่อยอาหารเข้าถึงได้ต่อไป ในการย่อยอาหารเชิงเคมี เอ็นไซม์จะสลายอาหารเป็นโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่ต้องรับอาหารทางสายยางก็จะมีระบบย่อยอาหารที่รวดเร็วกว่าคนที่รับประทานอาหารปกติ เพราะจะไม่ผ่านกระบวนการเคี้ยว กล่าวคือ อาหารที่รับเข้าไปจะไม่ผ่านทางปาก หลอดอาหาร แต่จะส่งตรงไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง ซึ่งทำให้การย่อยอาหารใช้ระยะเวลาไม่นาน ซึ่งปกติแล้วทางเดินอาหารของมนุษย์มีการการย่อยอาหารแตกต่างกันไปในแต่ละคนและขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอย่างลักษณะของอาหารและขนาดของมื้ออาหาร และกระบวนการย่อยอาหารปกติใช้เวลาระหว่าง 24 ถึง 72 ชั่วโมง

นอกจากนี้อาหารปั่นผสม ที่จะต้องให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือไม่รู้สึกตัว จะต้องมีสารอาหารครบถ้วน ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง ซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ ซึ่งเป็นอาหารที่มีประโยชน์ แต่ในผู้ป่วยที่โรคประจำตัว จะต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อย่างเช่น การนำวัตถุดิบมาทำเป็นอาหารปั่นผสม จะต้องมีนักโภชนการเป็นผู้คิดค้นสูตรอาหารที่เหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย


ซึ่งผู้ป่วยในแต่ละโรคนั้น มีการรับประทานอาหารที่ไม่เหมือนกัน เพราะผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะไม่เหมาะกับวัตถุดิบบางอย่าง หรือเมื่อรับประทานไปแล้วอาจจะเกิดโทษมากกว่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น นักโภชนาการจะต้องคอยควบคุมการผลิตของอาหารปั่นผสม เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารปั่นผสม ไม่เกิดอัตราย หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความสะอาดและสดใหม่ของวัตถุดิบ ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าผู้ป่วยได้รับสารอาหารหรืออาหารที่ไม่สะอาด อาจจะทำให้กิดท้องเสีย หรืออาเจียนได้และอาจจะทำให้อาหการป่วยทรุดลงไปอีก