1
พูดคุยเรื่องทั่วไป / ตรวจโรคดียูบี (Dysfunctional uterine bleeding/DUB)
« เมื่อ: วันที่ 3 ธันวาคม 2024, 20:59:02 น. »
ตรวจโรคดียูบี (Dysfunctional uterine bleeding/DUB)
ดียูบี เป็นภาวะที่มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกที่ไม่มีพยาธิสภาพเฉพาะที่ตรวจพบ เช่น เนื้องอก หรือการอักเสบของมดลูกหรือการตั้งครรภ์
พบได้ในผู้หญิงทุกวัย แต่จะพบมากในระยะเข้าสู่วัยสาวขณะที่มีประจำเดือนครั้งแรก และในระยะวัยกลางคน เมื่อใกล้จะหมดประจำเดือนอย่างถาวร
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีเลือดออกทางช่องคลอดมากหรือนานผิดปกติ
สาเหตุ
เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโทรเจน (estrogen) และโพรเจสเทอโรน (progesterone) ซึ่งมักจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทำให้มีเอสโทรเจนในร่างกายสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นเหตุให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวขึ้น แล้วทำให้มีเลือดออกจากโพรงมดลูกผิดปกติตามมา มักพบในผู้หญิงที่มีรอบเดือนที่ไม่มีการตกไข่ (anovulatory cycle)
อาการ
ผู้ป่วยจะมีเลือดคล้ายเลือดประจำเดือนออกมาก หรือกะปริดกะปรอยนานเป็นสัปดาห์ ๆ โดยมากจะไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย เลือดอาจออกมากจนผู้ป่วยซีด อ่อนเพลีย
บางรายอาจมีประวัติประจำเดือนขาดนำมาก่อนสัก 2-3 เดือน
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะโลหิตจางจากการเสียเลือด
ในรายที่มีเลือดออกมากและเร็ว อาจเกิดภาวะช็อก
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการขั้นต้น
การตรวจร่างกายมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน
ในรายที่มีเลือดออกมาก อาจตรวจพบภาวะซีด
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจภายในช่องคลอด อาจต้องตรวจเลือด (ประเมินภาวะซีด และการแข็งตัวของเลือด) ตรวจปัสสาวะ (ดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่) การตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด (transvaginal ultrasonography) เพื่อดูว่ามีการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกหรือไม่ และอาจต้องตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าสงสัยมีพยาธิสภาพในโพรงมดลูก เช่น ตรวจชิ้นเนื้อในรายที่สงสัยเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูก ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปี
การรักษาโดยแพทย์
แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้
1. ในรายที่มีเลือดออกน้อย ไม่ซีดหรือซีดเล็กน้อย และยังทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แพทย์จะให้ยาบำรุงโลหิต และอาจให้ยาฮอร์โมนในรายที่มีภาวะซีด เพื่อควบคุมให้เลือดออกน้อยลง
2. ในรายที่มีเลือดออกปานกลาง มีภาวะซีดเล็กน้อย แต่ยังรู้สึกตัวดี ความดันโลหิตและชีพจรเป็นปกติ แพทย์จะให้ฮอร์โมนบำบัด และให้ยาบำรุงโลหิต
3. ในรายที่มีเลือดออกมาก มีภาวะซีดมาก หรือมีชีพจรเต้นเร็ว หรือภาวะช็อก แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้เลือดในรายที่เสียเลือดมาก และให้ยาฮอร์โมนเพื่อควบคุมภาวะเลือดออก
4. ถ้าให้ยาฮอร์โมนแล้วเลือดไม่หยุด (ปกติควรจะหยุดภายใน 24 ชั่วโมง หรือภายใน 2-3 วัน) หรือพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปี แพทย์อาจทำการขูดมดลูก และทำการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นมะเร็งโพรงมดลูก ในบางรายแพทย์อาจใช้กล้องส่องตรวจโพรงมดลูก (hysteroscopy) เพื่อตรวจพยาธิสภาพในโพรงมดลูก
การขูดมดลูกจะช่วยให้เลือดหยุดได้ หลังจากนั้นจำเป็นต้องให้กินยาเม็ดคุมกำเนิดนานอย่างน้อย 3-6 เดือน
เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฮอร์โมนหรือมีความผิดปกติของโพรงมดลูก (เช่น เนื้องอกมดลูก มะเร็งมดลูก) ก็จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูก
การดูแลตนเอง
หากสงสัย เช่น มีเลือดคล้ายเลือดประจำเดือนออกมาก หรือกะปริดกะปรอยนานเป็นสัปดาห์ ๆ ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นดียูบี ควรดูแลตนเอง ดังนี้
รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา
มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือหน้าตาซีดกว่าปกติ
ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
การป้องกัน
ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
ควรหาทางป้องกันไม่ให้โรคกลายเป็นรุนแรงด้วยการดูแลรักษากับแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ข้อแนะนำ
ผู้ป่วยที่มีเลือดประจำเดือนออกมากหรือกะปริดกะปรอย อาจมีสาเหตุจากดียูบี ซึ่งมักไม่มีอันตรายร้ายแรง (นอกจากทำให้เสียเลือด) และสาเหตุจากความผิดปกติของมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ซึ่งมักพบในผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปี รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์นอกมดลูก แท้งบุตร เป็นต้น ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุให้แน่ชัด
ดียูบี เป็นภาวะที่มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกที่ไม่มีพยาธิสภาพเฉพาะที่ตรวจพบ เช่น เนื้องอก หรือการอักเสบของมดลูกหรือการตั้งครรภ์
พบได้ในผู้หญิงทุกวัย แต่จะพบมากในระยะเข้าสู่วัยสาวขณะที่มีประจำเดือนครั้งแรก และในระยะวัยกลางคน เมื่อใกล้จะหมดประจำเดือนอย่างถาวร
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีเลือดออกทางช่องคลอดมากหรือนานผิดปกติ
สาเหตุ
เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโทรเจน (estrogen) และโพรเจสเทอโรน (progesterone) ซึ่งมักจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทำให้มีเอสโทรเจนในร่างกายสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นเหตุให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวขึ้น แล้วทำให้มีเลือดออกจากโพรงมดลูกผิดปกติตามมา มักพบในผู้หญิงที่มีรอบเดือนที่ไม่มีการตกไข่ (anovulatory cycle)
อาการ
ผู้ป่วยจะมีเลือดคล้ายเลือดประจำเดือนออกมาก หรือกะปริดกะปรอยนานเป็นสัปดาห์ ๆ โดยมากจะไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย เลือดอาจออกมากจนผู้ป่วยซีด อ่อนเพลีย
บางรายอาจมีประวัติประจำเดือนขาดนำมาก่อนสัก 2-3 เดือน
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะโลหิตจางจากการเสียเลือด
ในรายที่มีเลือดออกมากและเร็ว อาจเกิดภาวะช็อก
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการขั้นต้น
การตรวจร่างกายมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน
ในรายที่มีเลือดออกมาก อาจตรวจพบภาวะซีด
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจภายในช่องคลอด อาจต้องตรวจเลือด (ประเมินภาวะซีด และการแข็งตัวของเลือด) ตรวจปัสสาวะ (ดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่) การตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด (transvaginal ultrasonography) เพื่อดูว่ามีการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกหรือไม่ และอาจต้องตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าสงสัยมีพยาธิสภาพในโพรงมดลูก เช่น ตรวจชิ้นเนื้อในรายที่สงสัยเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูก ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปี
การรักษาโดยแพทย์
แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้
1. ในรายที่มีเลือดออกน้อย ไม่ซีดหรือซีดเล็กน้อย และยังทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แพทย์จะให้ยาบำรุงโลหิต และอาจให้ยาฮอร์โมนในรายที่มีภาวะซีด เพื่อควบคุมให้เลือดออกน้อยลง
2. ในรายที่มีเลือดออกปานกลาง มีภาวะซีดเล็กน้อย แต่ยังรู้สึกตัวดี ความดันโลหิตและชีพจรเป็นปกติ แพทย์จะให้ฮอร์โมนบำบัด และให้ยาบำรุงโลหิต
3. ในรายที่มีเลือดออกมาก มีภาวะซีดมาก หรือมีชีพจรเต้นเร็ว หรือภาวะช็อก แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้เลือดในรายที่เสียเลือดมาก และให้ยาฮอร์โมนเพื่อควบคุมภาวะเลือดออก
4. ถ้าให้ยาฮอร์โมนแล้วเลือดไม่หยุด (ปกติควรจะหยุดภายใน 24 ชั่วโมง หรือภายใน 2-3 วัน) หรือพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปี แพทย์อาจทำการขูดมดลูก และทำการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นมะเร็งโพรงมดลูก ในบางรายแพทย์อาจใช้กล้องส่องตรวจโพรงมดลูก (hysteroscopy) เพื่อตรวจพยาธิสภาพในโพรงมดลูก
การขูดมดลูกจะช่วยให้เลือดหยุดได้ หลังจากนั้นจำเป็นต้องให้กินยาเม็ดคุมกำเนิดนานอย่างน้อย 3-6 เดือน
เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฮอร์โมนหรือมีความผิดปกติของโพรงมดลูก (เช่น เนื้องอกมดลูก มะเร็งมดลูก) ก็จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูก
การดูแลตนเอง
หากสงสัย เช่น มีเลือดคล้ายเลือดประจำเดือนออกมาก หรือกะปริดกะปรอยนานเป็นสัปดาห์ ๆ ควรปรึกษาแพทย์
เมื่อตรวจพบว่าเป็นดียูบี ควรดูแลตนเอง ดังนี้
รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา
มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือหน้าตาซีดกว่าปกติ
ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
การป้องกัน
ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
ควรหาทางป้องกันไม่ให้โรคกลายเป็นรุนแรงด้วยการดูแลรักษากับแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ข้อแนะนำ
ผู้ป่วยที่มีเลือดประจำเดือนออกมากหรือกะปริดกะปรอย อาจมีสาเหตุจากดียูบี ซึ่งมักไม่มีอันตรายร้ายแรง (นอกจากทำให้เสียเลือด) และสาเหตุจากความผิดปกติของมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ซึ่งมักพบในผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปี รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์นอกมดลูก แท้งบุตร เป็นต้น ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุให้แน่ชัด