head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: แผ่นซับเสียงและฉนวนกันเสียง เลือกแบบไหนดี  (อ่าน 261 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 189
    • ดูรายละเอียด
แผ่นซับเสียงและฉนวนกันเสียง เลือกแบบไหนดี
« เมื่อ: วันที่ 15 กันยายน 2023, 22:27:22 น. »
แผ่นซับเสียง Vs ฉนวนกันเสียง  2 เครื่องมือที่ช่วยให้ห้องเสี่ยงมีเสียงไม่พึงประสงค์น้อยลง

แผ่นซับเสียงช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงได้อย่างไร แล้วแผ่นซับเสียงแบบไหน ที่ควรเลือกใช้กับปัญหาแบบใด บทความนี้จะพาไปรู้จักกับ แผ่นซับเสียง และฉนวนกันเสียง โดย “เสียงรบกวน” ไม่ว่าจะเป็นเสียงดังจากปัจจัยอื่นๆ หรือว่าเสียงก้อง เสียงสะท้อน ที่เกิดขึ้นในห้อง นับเป็นปัญหาเสียงไม่พึงประสงค์ ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับห้องของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจหรือสถานประกอบการต่างๆ ด้วยแล้ว การมีเสียงดัง เสียงก้องเสียงสะท้อนเกิดขึ้นนั้น ถือเป็นสิ่งที่ทำให้สร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้า อันนำมาซึ่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจ ทั้งนี้ ปัญหาเสียงดัง เสียงก้อง เสียงสะท้อนนั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยวัสดุอะคูสติกหลักๆ 2 ชนิดได้แก่ แผ่นซับเสียง และ ฉนวนกันเสียง


อะไร คือ แผ่นซับเสียง?

แผ่นซับเสียง คือ วัสดุที่มีความสามารถในการดูดซับเสียง เพื่อป้องกันเสียงสะท้อนกลับจากฝ้าเพดาน พื้น และผนัง ทำให้ห้องนั้นๆ ที่ติดวัสดุแผ่นซับเสียง มีเสียงสะท้อนที่น้อยลง หรือไม่มีเสียงก้อง โดยปกติแล้วจะทำมาจากเส้นใยต่างๆ อาทิ ใยแก้ว ฟองน้ำ หรือแผ่นโฟมสำเร็จรูป ซึ่งมักจะปิดหุ้มผิวด้านนอกด้วยผ้า หรือวัสดุกันความชื้นพิเศษที่ไม่อุ้มน้ำ


อะไร คือ ฉนวนกันเสียง?

ฉนวนกันเสียง คือ วัสดุที่มีความสามารถในการป้องกันเสียง ซึ่งจะเป็นการลดเสียงที่ผ่านจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง โดยผลิตขึ้นมาจากวัสดุฉนวนเส้นใยต่างๆ ทำเป็นแผ่นสำเร็จรูป ใช้สำหรับกันเสียงระหว่างผนัง หรือใช้ต่อเติมร่วมกับระบบผนังอื่นๆ อาทิ ระบบผนังเบา ระบบผนังสมาร์ทบอร์ด ระบบผนงยิปซั่ม ระบบผนังอิฐมวลเบา ระบบผนังอิฐมอญ หรือระบบผนังอื่นๆ ก็ได้ เพื่อประสิทธิภาพในการกันเสียงให้ดียิ่งขึ้น

แผ่นซับเสียง แตกต่างจาก ฉนวนกันเสียงอย่างไร?

ทั้งแผ่นซับเสียงและฉนวนกันเสียง ถือเป็นวัสดุที่ช่วยในการลดปัญหาเสียงเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ “แผ่นซับเสียง” ใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน “เสียงสะท้อน เสียงก้อง” ส่วน “ฉนวนกันเสียง” ใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเสียงดังจากภายนอกเข้าสู่ห้อง ดังนั้น หากใช้ผิดวัตถุประสงค์ คือ ถ้าหากอยากป้องกันปัญหาเสียงดัง แต่ไปเลือกใช้แผ่นซับเสียง ก็จะไม่สามารถลดปัญหาเสียงดังได้ ผู้ใช้จึงต้องมีความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อให้สามารถเลือกใช้วัสดุแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


ประโยชน์ของ “แผ่นซับเสียง”

เนื่องด้วยแผ่นซับเสียงนั้น มีความสามารถในการดูดซับเสียงสะท้อนกลับ ทำให้ลดความก้องลงได้ จึงได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ในสถานที่ต่างๆ อาทิ

    ใช้แผ่นซับเสียง เพื่อลดเสียงก้องในห้องประชุม ห้องสัมมนา ต่างๆ ทำให้การใช้เสียงในห้องประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ก้อง ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถฟังได้ชัด เข้าใจ และไม่รู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ
    ใช้แผ่นดูดซับเสียง เพื่อลดเสียงก้อง เสียงสะท้อนในโรงละคร ทำให้การดูละครเป็นไปอย่างราบรื่น ได้อรรถรส
    ใช้แผ่นซับเสียง เพื่อลดเสียงก้อง เสียงสะท้อนในโรงภาพยนตร์ ทำให้การชมภาพยนตร์สนุกมากขึ้น ได้ยินชัดเจน ไม่เสียอรรถรสในการรับชม
    ใช้แผ่นซับเสียง เพื่อลดเสียงสะท้อนในห้องคาราโอเกะ ห้องสตูดิโอ เพื่อให้การใช้งานเสียงในห้องนั้นๆ มีประสิทธิภาพ
    ใช้แผ่นดูดซับเสียง เพื่อลดเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้องอัดเสียง เพื่อให้การอัดเสียงเป็นไปอย่างราบรื่น ได้เสียงอัดที่มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ


ประโยชน์ของ “ฉนวนกันเสียง”

เนื่องด้วยฉนวนกันเสียง มีความสามารถในการป้องกันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้ามาในห้องได้นั้น จึงได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ

    นำไปใช้เพื่อป้องกันเสียงดังเข้าห้องนอน ทำให้ห้องเงียบมากขึ้น นอนหลับได้สบายมากขึ้น
    นำไปใช้เพื่อป้องกันเสียงดังเข้าห้องทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น ไม่มีเสียงดังรบกวน
    นำไปใช้เพื่อป้องกันเสียงดังของเครื่องจักรในโรงงาน ทำให้เสียงของเครื่องจักรไม่ดังออกมารบกวนภายนอก
    นำไปใช้เพื่อป้องกันเสียงดังในโรงแรม ทำให้ห้องในโรงแรมเก็บเสียง เสียงไม่ทะลุจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง
    นำไปใช้เพื่อสร้างมาตรฐานการควบคุมเสียงในสถานประกอบการต่างๆ ให้อยู่ในมาตรฐานตามที่กำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้อันเนื่องมาจากเสียงดัง


“เสียง” สร้างปัญหาให้กับคนได้อย่างไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้วเสียงที่ดังเกินไป เสียงที่ก้อง หรือสะท้อนเกินไป ซึ่งเป็นเสียงที่คนไม่ต้องการได้ยิน จะสามารถส่งผลต่อสุขภาพของคนเราได้ โดยอาจส่งผลเสียได้ 2 ทาง ดังนี้

    ผลเสียทางด้านจิตใจ
    คือทำให้เกิดอาการตกใจ รำคาญ หงุดหงิด อารมณ์เสีย รบกวนการพักผ่อนและการทำงาน ซึ่งส่งผลทำให้ทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเพราะเสียสมาธิ และอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงานได้
    ผลเสียทางด้านร่างกาย
    คือมีโอกาสทำให้สูญเสียการได้ยิน ทำให้หูหนวก หรือทำให้ปวดแก้วหูได้ในกรณีที่ได้รับเสียงที่มีความดังมากๆ อาทิ เสียงดังจากเครื่องจักร เป็นต้น

ซึ่งด้วยปัญหาของเสียงที่ทำให้อาจเกิดอันตรายขึ้นกับจิตใจและร่างกายได้นี้เอง จึงทำให้การควบคุมและการแก้ไขปัญหาเสียงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรให้ความสำคัญ ไม่ควรมองข้าม และนั่นเองที่ทำให้วัสดุที่ช่วยลดปัญหาเสียงอย่างแผ่นซับเสียงและฉนวนกันเสียงมีบทบาทอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาเสียงดังกล่าว


มาตรฐานเสียงและกฎหมายเสียงดังในที่ทำงาน ที่สถานประกอบการควรรู้

เสียงดัง หมายถึง เสียงที่มีค่าความดังมากจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยิน และเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจได้ ซึ่งกฎหมายแรงงานระบุให้ต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) ไม่ให้เกินมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งหากสภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป นายจ้างจะต้องมีหน้าที่จัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด


มาตรฐานและกฎหมายเสียงดังในที่ทำงานของประเทศไทย ที่ควรทราบได้แก่

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549

ข้อ 8 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้
   
ข้อ 9 ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impact or Impulse Noise) เกินหนึ่งร้อยสี่สิบเดซิเบลเอ หรือมีปริมาณเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดทำงานจนกว่าจะได้ปรับปรุงหรือแก้ไขระดับเสียงหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
   
ข้อ 10 ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทำงานมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ 8 หรือข้อ 9 ให้นายจ้างดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียงหรือการบริหารจัดการเพื่อให้มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
   
ในกรณียังดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขตามวรรคหนึ่งไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทำงาน เพื่อลดเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ 8 หรือข้อ 9
   
ข้อ 11 ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ 8 หรือข้อ 9 นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน
   
ข้อ 12 ในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2546

    ข้อ 8 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องควบคุมมิให้บริเวณปฏิบัติงานในโรงงานมีระดับเสียงเกินกว่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ในตารางท้ายหมวดนี้
    ข้อ 9 ห้ามมิให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่มีเสียงดังเกินกว่า 140 เดซิเบล
    ข้อ 10 บริเวณปฏิบัติงานที่มีระดับเสียงเกินกว่ามาตรฐานตามข้อ 8 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องปิดประกาศเตือนให้ทราบถึงบริเวณที่มีเสียงดังเกินมาตรฐานที่กำหนด



แผ่นซับเสียงและฉนวนกันเสียง เลือกแบบไหนดี อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/


xaqi

  • บุคคลทั่วไป
Re: แผ่นซับเสียงและฉนวนกันเสียง เลือกแบบไหนดี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 3 พฤษภาคม 2024, 09:27:27 น. »